ท่อตัน ส้วมตัน น้ำเสีย Blog
ท่อตัน
by
admin
· Published 03/15/2014
· Last modified 09/26/2014
ชักโครกตันปัญหาโลกแตกที่คอยกวนใจหลาก ๆ คนอยู่เสมอ ในทุกที่ไม่ว่าจะเป็น หอพัก คอนโด บ้านพักอาศัย เรียกง่าย ๆ ว่าในทุก ๆ ที่ที่เราพักอาศัยอาจเกิดปัญหาชักโครกตันได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกลิ่นกวนใจก็ดี หรืองบประมาณในการซ่อมแซมแก้ไขก็ดี แค่คิดก็เพลียแล้ว แต่วันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ มาฝากเพื่อป้องกันปัญหานี้ – มีถังขยะไว้ในห้องน้ำ เทคนิคนี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่เชื่อหรือไม่ว่า หลายครั้งที่เราเข้าห้องน้ำมักไม่มีถังขยะอยู่ ทำให้เราติดนิสัยที่จะต้องทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงในชักโครกบ่อยครั้ง และนี่เป็นสาเหตุสำคัญลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดชักโครกตันเลยทีเดียว ...
ปัญหาส้วมตันเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็ไม่ประสงค์อยากจะเจอเท่าใดนัก ด้วยเพราะว่ามักจะสร้างความรำคาญและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออกมา เป็นที่รบกวนและทำให้สมาชิกในบ้านได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น ก่อนจะเกิดปัญหาส้วมตัน เราควรหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นจะดีที่สุด ด้วยการใช้จุลินทรีช่วย โดยวิธีจะมีอย่างไรนั้นเรามาติดตามกัน ปัญหาส้วมตันส่วนใหญ่นอกจากจะเกิดจากสิ่งแปลกปลอมไปอุดตันบริเวณคอห่านหรือชักโครกแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งก็คือการที่ส้วมเต็มนั่นเอง ดังนั้น การใช้จุลินทรีเข้ามาช่วยในการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลและคราบไขมันต่าง ๆ จึงทำให้ลดปัญหาส้วมตันและมีกลิ่นได้ เนื่องจากจุลินทรีย์ที่เรียกกันว่า EM (Effecttive MicroOrganism) ซึ่งถูกคิดค้นครั้งแรกในญี่ปุ่นโดย ด๊อกเตอร์ เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเทางด้านพืชพันธ์ จะไปเป็นตัวการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนเป็นอาหารทำให้ลดการสะสมของสิ่งปฏิกูล และกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ลงได้ และหากทำเป็นประจำเชื่อว่าจะทำให้ไม่เกิดปัญหาส้วมตันมากวนใจเลย โดยวิธีการก็ไม่อยากเพียงแค่คุณหาจุลินทรีย์สำหรับทำปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือ EM มาราดลงบนชักโครกหรือคอห่าน...
ในน้ำนั้นมีองค์ประกอบทางเคมีสำคัญอยู่สองชนิด คือ ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยมีสูตรทางเคมีว่า H2O ซึ่งเมื่อมีสิ่งปนเปื้อนลงในน้ำแล้ว จะเกิดกระบวนการทางเคมี (กรณีเป็นสิ่งปนเปื้อนประเภทสารอนินทรีย์) หรือเกิดกระบวนการทางชีวเคมี (กรณีเป็นสิ่งปนเปื้อนประเภทสารอินทรีย์) ที่เรียกว่า “การออกซิไดซ์ (Oxidized)” ซึ่งจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำนั้นลดน้อยลง นักวิทยาศาสตร์จึงได้ใช้ประโยชน์จากกระบวนการดังกล่าวนี้มาเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำที่ใช้แล้วหรือน้ำทิ้งว่าเป็นน้ำเสียหรือไม่ โดยวิธีการชี้วัดว่าน้ำที่ใช้แล้วหรือน้ำทิ้งนั้นจะถือเป็นน้ำเสียหรือไม่ หรือเป็นน้ำเสียในระดับใด เราต้องเรียนรู้ค่าบ่งชี้จำนวน 2 ค่าได้แก่ – ค่า BOD (Biochemical Oxygen demand)...
สำหรับบ้านพักอาศัย และร้านอาหาร นั้น น้ำเสียที่ไหลออกสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ มักจะมีน้ำมัน ไขมันและสิ่งปฏิกูลเจือปนเป็นจำนวนมาก หากไม่มีการกำจัดหรือลดจำนวนน้ำมัน และไขมันออกไป อาจจะทำให้เกิดปัญหาท่ออุดตันได้ โดยวิธีการเบื้องต้นในการคัดแยกน้ำมัน และไขมันออกจากน้ำเสียก็คือตระแกรง โดยหากเป็นครัวของ บ้านพักอาศัย หากปล่อยน้ำเสียโดยไม่ผ่านตะแกรง จะมีน้ำมัน และไขมันโดยประมาณ 2,700 มิลลิกรัมต่อลิตร และหากผ่านตะแกรง จะมีน้ำมัน และไขมันโดยประมาณ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร และสำหรับร้านอาหารอาจมีน้ำมัน และไขมันโดยประมาณมากกว่าบ้านพักอาศัยธรรมดาถึงสามเท่า หรือประมาณ 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร ขั้นตอนต่อมาก็คือการสร้าง “บ่อดักไขมัน” เพื่อพักน้ำเสียให้ไขมันลอยตัวแยกออกจากน้ำ โดยขนาดของบ่อดักไขมันนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมานั่นเอง